ประเภทของอุปกรณ์ ของ วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ

ชุดของอุปกรณ์นั้นมีทั้งรูปแบบติดตั้งประจำที่และแบบพกพาได้ โดยปกติชุดประจำที่จะมีข้อดีคือมีแหล่งพลังงานที่เสถียรกว่า มีกำลังส่งที่สูงกว่า สายอากาศที่ใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมไปถึงจอแสดงผลและปุ่นมที่ใหญ่ใช้งานง่าย ในขณะที่ชุดพกพา (โดยปกติจะเป็นเครื่องรับส่งวิทยุแบบมือถือย่านวีเอชเอฟที่กันน้ำ) สามารถพกพาได้บนเรือคายัคหรือบนเรือชูชีพได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแหล่งพลังงานในตัวและกันน้ำได้หากได้รับการรับรองตามมาตรฐานตามระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety Sytem: GMDSS) ซึ่งวิทยุวีเอชเอฟแบบพกพาบางรุ่นยังได้รับการรับรองให้ใช้งานเป็นวิทยุฉุกเฉินสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยจากภายใน (Intrinsically Safe) เช่น บนเรือบรรทุกแก๊ส แท่นขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น

เสียงเท่านั้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเท่านั้น เป็นอุปกรณ์แบบดั้งเดิมที่อาศัยเสียงของมนุษย์ในการเรียกและสื่อสาร อุปกรณ์แบบพกพาที่มีราคาต่ำส่วนใหญ่เป็นแบบใช้เสียงเท่านั้น แบบเดียวกับอุปกรณ์แบบประจำที่รุ่นเก่า

การเรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิตอล

อุปกรณ์เรียกอย่างจาเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิตอล (Digital selective calling: DSC) เป็นส่วนหนึ่งของระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (GMDSS) มีคุณสมบัติเหมือนกันกับอุปกรณ์แบบใช้เสียงเท่านั้น และยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่น ๆ อีกหลายด้าน ประกอบไปด้วย

  • ความสามารถในการเรียกเรือลำอื่น ๆ โดยใช้สิ่งระบุตัวตนเฉพาะที่เรียกว่าเลขหมายระบุตัวตนในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (MMSI) ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งในรูปแบบดิจิทัลและชุดเครื่องรับสัญญาณจะแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานเมื่อมีการตรวจพบการเรียกขานเลขหมาย MMSI ที่ตรงกับของตนเอง การเรียกจะถูกตั้งค่าอยู่ในช่อง 70 ของย่านวีเอชเอฟ ซึ่งอุปกรณ์ DSC จะมีการเปิดรับสัญญาณที่ถูกส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และการพูดคุยสื่อสารด้วยเสียงจริง ๆ จะเกิดในช่องสื่อสารด้วยเสียงอื่นที่ได้รับแจ้งมาจากข้อมูลผ่านอุปกรณ์ DSC
  • ปุ่มแจ้งเหตุฉุกเฉิน จะส่งสัญญาณฉุกเฉินอัตโนมัติในรูปแบบดิจิทัลโดยระบุถึงข้อมูลของเรือที่ส่งสัญญาณและลักษณะของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
  • เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสในตัวเครื่องหรือเครื่องรับส่งสัญญาณจีพีเอสแบบเชื่อมต่อแยกจากตัวเครื่องจะช่วยส่งตำแหน่งที่อยู่ของเรืออัตโนมัติพร้อมกับการส่งสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน

เมื่อซื้ออุปกรณ์วิทยุ DSC ใหม่ ผู้ใช้งานจะได้รับบริการในการตั้งโปรแกรมเลขหมาย MMSI ของเรือที่จะใช้งานเครื่อง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเลขหมาย MMSI หลังการโปรแกรมในครั้งแรกอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ และต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ใช้งานโดยผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงเลขหมายหลังจากการโจรกรรมเรือ

ระบบรายงานตนอัตโนมัติ

เครื่องรับส่งสัญญาณขั้นสูงส่วนใหญ่จะรองรับระบบรายงานตนอัตโนมัติ (Automatic identification system: AIS) อุปกรณ์นี้จะอาศัยตัวรับสัญญาณจีพีเอสที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุย่านวีเอชเอฟหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกซึ่งตัวรับส่งสัญญาณจะได้รับตำแหน่งจากดาวเทียมและส่งข้อมูลดังกล่าวออกไปพร้อมกับรายละเอียดอื่น ๆ ของเรือ (เลขหมาย MMSI, สินค้าที่ขน, การกินน้ำลึกของเรือ, จุดหมายปลายทาง และข้อมูลอื่น ๆ) ไปยังเรือลำอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ระบบ AIS จะทำงานในรูปแบบของเครือข่ายแบบตาข่าย (mesh network) และเรือที่มีอุปกรณ์ที่สมบูรณ์จะช่วยถ่ายทอดข้อความ AIS ของเรือลำอื่น ๆ ทำให้ช่วยขยายขอบข่ายของเครือข่ายขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม เรือที่ใช้อุปกรณ์ระดับเริ่มต้นจะสามารถรับข้อมูลได้เท่านั้นหรือไม่สนับสนุนระบบการถ่ายทอดข้อความ

ข้อมูลระบบ AIS จะถูกส่งในช่อง 87B และช่อง 88B ในย่านวีเอชเอฟ ที่อัตราบอด 9,600 บิต/วินาที โดยใช้การมอดดูเลชั่นแบบ Gaussian minimum-shift keying (GMSK)[4] และใช้รูปแบบของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา

การส่งข้อความ

การใช้มาตรฐาน RTCM 12301.1 ทำให้สามารถรับและส่งข้อความในลักษณะเดียวกันกับ SMS ระหว่างเครื่องรับส่งสัญญาณย่ายวีเอชเอฟซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุข้างต้น[5] อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2562 มีเครื่องรับส่งสัญญาณเพียงไม่กี่รุ่นที่รองรับคุณสมบัตินี้ ซึ่งสถานีที่รับข้อความจะต้องปรับช่องให้ตรงกับสถานีที่ส่งสัญญาณจึงจะสามารถรับข้อความได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ https://www.viestintavirasto.fi/attachments/Rannik... https://doi.org/10.1177%2F0002716229142001S09 http://jproc.ca/rrp/nro_ww2.html http://www.allaboutais.com/index.php/en/technical-... http://nebula.wsimg.com/08ac6f768a2ba3f85f01b41f5e... https://www.gov.uk/government/publications/mgn-324... https://web.archive.org/web/20100920105428/http://... http://www.arrl-al.org/Railroad%20Communications%2... http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=mtvhf https://web.archive.org/web/20161007144151if_/http...